วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติ

http://www.tourresorthotel.com/source/photos/siteadmin/99b7f773.jpg
สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือ มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทาง เสริมสร้างและทำลาย

จะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น

ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


ก. ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่

   1) ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย เช่น พลังงาน จากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น ใช้เท่าไรก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหมด

   2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น ที่ดิน น้ำ ลักษณะภูมิประเทศ ฯลฯ ถ้าใช้ไม่เป็นจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในที่เดิม ย่อมทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ได้ผลผลิตน้อยลงถ้าต้องการให้ดินมีคุณภาพดีต้องใส่ปุ๋ยหรือปลูกพืชสลับและ หมุนเวียน

2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่

   1) ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ประชากรโลก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ปลาบางชนิด ทัศนียภาพอันงดงาม ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้

   2) ประเภทที่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติธรรมชาติของดิน พร สวรรค์ของมนุษย์ สติปัญญา เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ ไม้พุ่ม ต้นไม้ใหญ่ ดอกไม้ป่า สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯลฯ

   3) ประเภทที่ไม่อาจรักษาไว้ได้ เมื่อใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้ กลับเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น โลหะต่าง ๆ สังกะสี ทองแดง เงิน ทองคำ ฯลฯ

   4) ประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันก๊าซ อโลหะส่วนใหญ่ ฯลฯ ถูกนำมาใช้เพียงครั้งเดียวก็เผาไหม้หมดไป ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้

   ทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สำคัญของโลก และของประเทศไทยได้แก่ ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ แร่ธาตุ และประชากร (มนุษย์)

ข. สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่อยู่รอบ ๆ ตัว ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งเกิดจาก การกระทำของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

2. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างกำหนดขึ้น

สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ จำแนกได้ 2 ชนิด คือ

1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อากาศ ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะ ภูมิอากาศ ทัศนียภาพต่าง ๆ ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทรและทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด

2) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพหรือชีวภูมิศาสตร์ ได้แก่ พืชพันธุ์ธรรมชาติต่าง ๆ สัตว์ป่า ป่าไม้ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเราและมวลมนุษย์

สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างขึ้น ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มนุษย์เสริมสร้างขึ้นโดยใช้กลวิธีสมัยใหม่ ตามความเหมาะสมของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ รถยนต์ พัดลม โทรทัศน์ วิทยุ ฝนเทียม เขื่อน บ้านเรือน โบราณสถาน โบราณวัตถุท อื่น ๆ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ค่านิยม และสุขภาพอนามัย

สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ

1) มนุษย์
เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มากกว่าสิ่ง อื่น เช่น ชอบจับปลาในฤดูวางไข่ ใช้เครื่องมือถี่เกินไปทำให้ปลาเล็ก ๆ ติดมาด้วย ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย ส่งเป็นสินค้า หรือเพื่อใช้พื้นที่เพาะปลูกปล่อยของเสียจากโรงงานและไอเสียจากรถยนต์ทำให้ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (น้ำเน่า อากาศเสีย)
2) ธรรมชาติแวดล้อม
ธรรมชาติแวดล้อม ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เช่น แม่น้ำที่พัดพาตะกอนไปทับถมบริเวณน้ำท่วม และปากแม่น้ำต้องใช้เวลานานจึงจะมีตะกอนมาก การกัดเซาะพังทลายของดินก็เช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นเกิดจากแรงภายในโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อื่น ๆ ได้แก่ อุทกภัยและวาตภัย ไฟป่า เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติดังกล่าวจะไม่เกิดบ่อยครั้งนัก
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ป่าและปลา น้ำ ดิน อากาศ แร่ธาตุ มนุษย์และทุ่งหญ้า

ทรัพยากรนันทนาการ

  นันทนาการ หมายถึง การกระทำใด ๆ  ที่ทำให้เกิดความสุข ความพึงพอใจ สนุนสนาน เกิดความเลื่อมใสศรัทธา เสริมสร้างความรู้ และออกกำลังกาย การนันทนาการเปรียบเสมือนอาหารใจที่ทำให้คนเกิดความสมบูรณ์ทางด้านสมองและ จิตใจ  ดังนั้นการนันทนาการจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอาหารที่มนุษย์รับ ประทานเข้าไป
จากการที่มนุษย์ต้องตรากตรำทำงานหนักตลอดทั้งวันหรือสัปดาห์ จะทำให้ร่างกายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า สมองตึงเครียด และเบื่อหน่ายต่องานที่ทำ จึงจำเป็นที่ต้องหาเวลาพักผ่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในการทำงาน ให้ดียิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากวันสิ้นสุดสัปดาห์หรือวันหยุดเทศกาลต่าง ๆ
ประชาชนชาวเมืองจะเดินทางออกไปพักผ่อนในชนบทที่อยู่ห่างไกลออกไป ในขณะที่คนในชนบทจะหลั่งไหลกันเข้าเมืองเพื่อพักผ่อนตามโรงภาพยนตร์ หรือแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและเลือกซื้อสินค้าตามศูนย์การค้าต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการนันทนาการอาจจะทำได้หลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรสนิยม ความถนัด และความต้องการ
ในสภาพปัจจุบันสถานที่นันทนาการจะเพิ่มความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และมีเวลาว่าง จึงทำให้การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนกระทำได้ไกลจากถิ่นที่อยู่มาก ซึ่งทำให้สถานที่นันทนาการทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่อยู่ห่างไกลออกไป จากย่านชุมชน มีผู้เข้าไปใช้บริการมากยิ่งขึ้น เอกชนบางแห่งได้หันมาลงทุนเพื่อดำเนินการทำธุรกิจทางด้านนันทนาการเป็นจำนวน มาก เป็นต้นว่า การจัดสร้างสวนสนุก สวนสัตว์ โรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้า รีสอร์ต การบริการทางด้านการขนส่ง และสนามกีฬา ซึ่งธุรกิจเหล่านี้นอกจากจะทำรายได้ให้กับผู้ประกอบการอย่างดีแล้วยังช่วยใน การสร้างงานให้กับประชาชนโดยทั่วไปอีกด้วย
การนันทนาการจะทำได้หลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเพศ วัย และความสนใจของแต่ละบุคคล ถ้าหากจะจัดชนิดของการนันทนาการตามหลักสากลแล้ว อาจจะแบ่งออกได้ 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ การกีฬา การออกกำลังกาย เพื่อศึกษาหาความรู้ และเปลี่ยนบรรยากาศ
ความสำคัญของสถานที่นันทนาการ
สถานที่ใช้นันทนาการ สามารถมีหลายสถานที่เช่น สนามกีฬา สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ  สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ  วัด โรงมหรสพ ศูนย์การค้า เป็นต้น สถานที่ดังกล่าว เป็นแหล่งความรู้ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ยังเป็นการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และช่วยในการสร้างงานในท้องถิ่น
สถานที่นันทนาการนับว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง และเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำการบำรุงรักษาไว้ ทั้งนี้เพราะสถานที่นันทนาการจะเสื่อมสภาพไปตามกาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่ นันทนาการทางวัฒนธรรม แม้แต่สถานที่นันทนาการทางธรรมชาติ เช่น ทะเลสาบ ชายหาด ถ้ำ น้ำตกและอื่น ๆ เมื่อมีผู้เข้าไปใช้บริการมาก ๆ จะทำให้เสื่อมโทรมและสกปรกได้เช่นเดียวกัน ถ้าหากไม่มีการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น